เมื่อเข้าสู่วัยทองจะทำยังไงดี ?
วัยทองมีอายุเฉลี่ยประมาณ 45-55 ปี ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเยอะมาก ทางด้านร่างกายและจิตใจ เมื่อเข้าสู่วัยทองจะทำยังไงดี ? เตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยทอง
เราจะมาพูดถึง 9 โรคที่มักพบในผู้สูงวัย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคกระดูกพรุน โรคอัลไซเมอร์ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคซึมเศร้า รู้จัก 9 โรคยอดฮิตในผู้สูงวัย
ปัจจุบัน ประชากรผู้สูงอายุมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับเป็นความท้าทายสำคัญในการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย การรู้จักโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ รวมถึงวิธีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรตระหนักและให้ความสนใจ วันนี้เราเลยจะมาพูดถึงโรคยอดฮิตที่มักพบในผู้สูงวัยเพื่อช่วยให้ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุในบ้านคอยระวัง และรู้วิธีดูแลที่ถูกต้อง ดังนั้นไปดูกันเลยว่าจะมีโรคอะไรบ้าง
ความดันโลหิตสูงมักเป็นผลจากการแข็งตัวของหลอดเลือด เมื่ออายุมากขึ้นจะทำให้หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่นไปด้วย ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และไตวายได้
โรคเบาหวาน คือร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปใช้ได้เนื่องจากมีการผลิตและนำใช้ประโยชน์จากฮอร์โมนอินซูลินผิดปกติ มักพบในผู้มีน้ำหนักเกิน ถ้าควบคุมไม่ดีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ตาบอด ไตวาย แผลเรื้อรัง
เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงหัวใจ ทำให้เนื้อเยื่อหัวใจตายและหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ มักเกิดจากการสะสมของคราบไขมันในผนังหลอดเลือด หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตัน พบบ่อยในผู้ที่เป็นโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง
เป็นภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือหลอดเลือดในสมองแตกและมีเลือดไหลออกท่วมเนื้อสมองทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย อาจทำให้เป็าอัมพาต พูดไม่ได้ ความจำเสียหาย หรือเสียชีวิตได้ถ้ารักษาไม่ทันท่วงที
เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ทำให้เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ โรคมะเร็งสามารถพบได้ในหลายระบบ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งตับ สาเหตุมักมาจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม สารก่อมะเร็ง พฤติกรรมเสี่ยง
เป็นภาวะที่มวลกระดูกลดลงทำให้กระดูกบางและแพร่งาย โดยมีสาเหตุหลักมาจากอายุที่มากขึ้น ขาดการออกกำลังกาย และภาวะขาดธาตุแคลเซียม ถ้าไม่ได้รักษาอาจนำไปสู่การหักกระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลังได้
เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบมากที่สุดในผู้สูงอายุ เกิดจากสมองถูกทำลายอย่างช้าๆ ทำให้เกิดความผิดปกติของการรับรู้ ความจำและพฤติกรรมเสียไป มีอาการหลงลืมบ่อย นอนคิดฟุ้งซ่าน อารมณ์แปรปรวน ขาดความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน
เกิดจากการอักเสบเรื้อรังในหลอดลมและปอด ทำให้หายใจลำบาก ไอเรื้อรัง สาเหตุหลักเกิดจากการสูบบุหรี่ รวมถึงการสัมผัสมลพิษทางอากาศอื่นๆ ส่งผลให้ปอดทำงานได้น้อยลงและอาจก่อให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวได้
เป็นภาวะทางจิตใจที่มีอาการซึมเศร้า หดหู่ใจ ไม่มีความสุข รู้สึกไม่มีคุณค่า ไม่มีความสนใจในชีวิต มีความคิดอยากตายหรือฆ่าตัวตายด้วย โรคซึมเศร้ามักมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและความผาสุกทางร่างกายจิตใจ
จากบทความจะเห็นได้ว่า ความเสี่ยงสูงในวัยนี้ มีโรคที่พบบ่อย เช่นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคกระดูกพรุน รวมถึงภาวะสุขภาพจิตผิดปกติ เช่น โรคอัลไซเมอร์และโรคซึมเศร้า ซึ่งโรคเหล่านี้หากไม่ได้รับการดูแลและควบคุมอย่างเหมาะสม อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตและเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อผู้สูงวัย
ดังนั้นการดูแลสุขภาพอย่างรอบด้านจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงวัย โดยควรมุ่งเน้นทั้งการป้องกันโรคด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การได้รับวัคซีนตามคำแนะนำ รวมถึงการตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อคัดกรองและวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิต การป้องกันอุบัติเหตุในผู้สูงวัย และการวางแผนเตรียมพร้อมทางการเงินสำหรับชีวิตหลังวัยเกษียณ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลายและห่างไกลจากภัยคุกคามของโรคร้ายต่างๆ การดูแลผู้สูงวัยจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานของรัฐในการให้ความรู้และสนับสนุนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม