วิธีรับมือเมื่อคนในบ้านเป็นโรคซึมเศร้า

วิธีรับมือเมื่อคนในบ้านเป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า เป็นโรคหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัยของแต่ละคน โดยโรคนี้สามารถที่จะรักษาให้หายได้ โดยอาจจะต้องมีการใช้ยา การรักษาทางจิตใจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

การที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่าจะเป็นคนที่อ่อนแอที่สุดแต่เป็นเพียงอาการเจ็บป่วยชนิดหนึ่ง

สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้า

สาเหตุอาจเกิดมาจาก การสูญเสีย การหย่าร้าง การผิดหวัง ความเครียดในเรื่องครอบครัว ที่ทำงาน สภาพทางจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัว การขาดความรัก รวมถึงการสูญเสียกับคนที่รักไป หรืออาจจะมีการเจ็บป่วยในโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถจะรักษาให้หายขาดได้

ฉะนั้น เราจะสังเกตหรือรู้ตัวได้อย่างไรว่าเรากำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ถ้าหากเรารู้สึกหม่นหมอง หงุดหงิด กังวลใจไม่สบายใจหรืออะไรก็ตามแต่ เราก็ควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษากันอย่างถูกวิธี สำหรับบางคนที่มีผู้ป่วยโรคนี้อยู่ที่บ้าน เราก็จะต้องรู้จักหาวิธีอยู่ร่วมกับผู้ป่วยให้ได้มีความสุขมากที่สุด เพราะการที่เราอยู่ร่วมกับผู้ป่วยมันก็สามารถที่จะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

การที่เราช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

เป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีนิสัยอย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรที่จะไปว่าหรือด่า ควรที่จะต้องใช้เหตุผลและความเข้าใจในการรักษา พูดคุย ถ้าเราทำได้ การรักษาให้หายขาดจากโรคนี้ก็จะมีโอกาสสูง

รับมือเมื่อคนในสบ้านเป็นโรคซึมเศร้า

วิธีรับมือเมื่อคนในบ้านเป็นโรคซึมเศร้า02

  1. พูดคุยและรับฟังผู้ป่วย

สิ่งที่สำคัญก็คือการพูดและการฟังผู้ป่วย เราต้องรู้จักที่จะถามเค้าว่าตอนนี้รู้สึกอย่างไร เราจะต้องพูดให้เค้ารู้สึกว่าเราสามารถที่จะไว้วางใจได้ จะต้องแสดงความรู้สึกว่าเราอยากจะช่วยเหลือเค้าจริงๆ แต่หลักของการพูดเราก็จะต้องพูดให้ดี เพราะถ้าเราพูดแรงจนเกินไปมันก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการน้อยใจก็ได้เช่นกัน

วิธีรับมือเมื่อคนในบ้านเป็นโรคซึมเศร้า03

  1. รู้จักทำความเข้าใจกับโรคซึมเศร้า

ถ้าหากเรามีความจำเป็นที่จะต้องดูแลผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เราจะต้องเข้าใจและทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้ได้มากที่สุด จะต้องศึกษาหาความรู้ต่างๆ เพื่อที่จะได้มาช่วยในการสนับสนุนและให้กำลังใจกับผู้ป่วย โดยเราก็จะต้องค่อยๆ ดูแลผู้ป่วยให้สามารถหายขาดจากโรคนี้ให้ได้ ถึงแม้ว่ามันจะต้องใช้เวลาแต่ถ้าทำได้มันก็จะส่งผลดีต่อผู้ป่วยเอง

วิธีรับมือเมื่อคนในบ้านเป็นโรคซึมเศร้า04

  1. ช่วยเหลือและทำกิจกรรม

เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติเหมือนตอนที่ไม่ได้ป่วยโรคนี้มาก่อน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เราจะต้องทำให้ผู้ป่วยสามารถที่จะกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ จะต้องสามารถกลับมาทำงานหาเงินเลี้ยงตัวเองให้ได้ แต่เราก็จะต้องใช้ความพยายาม เพราะบางที ถ้าเราเร่งมากจนเกินไป ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยได้เช่นกัน